วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล


ความหมายของการสื่อสารข้อมูล คือ การโอนถ่าย (Transmission Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร
1)ผู้ส่งข้อมูล (sender) และผู้รับ (receiver)
2)โปรโตคอล (protocol) และซอฟต์แวร์(Software)
3)ข้อมูล (data)
4)สื่อกลาง (medium)


องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร
- ผู้ส่ง หรือ อุปกรณ์ส่งข้อมูลเป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล
- ผู้รับ หรือ อุปกรณ์รับข้อมูลเป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมา

-โปรโตคอล (Protocol)วิธีการกฎระเบียบ หรือมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกัน หรือคุยกันรู้เรื่อง ตัวอย่างโปรโตคอลTCP/IP , IPX
-ซอฟต์แวร์ (Software)มีหน้าที่ทำให้การสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามที่กำหนดตัวอย่างซอฟต์แวร์ UNIX , Netware



-ข้อมูล (Data) / ข่าวสาร (Message)สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในการสื่อสาร หรือเรียก สารสนเทศ รูปแบบของข่าวสารในการสื่อสาร มี 3 รูปแบบ คือ
1. เสียง (Voice)
2. ข้อความ (Text)
3. ภาพ (Image)

- สื่อกลาง (Medium Medium)เส้นทางการสื่อสารที่นำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางการสื่อสาร ตัวอย่างสื่อกลางสายเคเบิล ไฟเบอร์ ออพติค คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม คลื่นวิทยุ

การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทาง และปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชื่อมต่อกันอยู่ด้วย สื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง
ระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทางซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการโอนย้ายหรือเคลื่อนย้ายข้อมูลรวมทั้งต้องอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
สื่อ หรือ ตัวกลาง แบ่งออกเป็น 2 จำพวก ดังนี้
1.สื่อที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล สายไฟเบอร์ออปติค
2.สื่อที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้เช่น ชั้นบรรยากาศ น้ำ
ชนิดของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
         ในการส่งข้อมูลหรือข่าวสารใด ๆ สามารถส่งได้ใน 2 ลักษณะ คือ
1.การส่งสัญญาณแบบอนาล็อก (Analog)
2.การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital)

การส่งสัญญาณแบบอนาล็อก (Analog)
           สัญญาณที่ส่งออกไปจะมีความต่อเนื่องตลอดเวลา สัญญาณที่ส่งออกไปพลังงานจะอ่อนลงเรื่อยๆเมื่อระยะทาง เพิ่มขึ้น ดังนั้น ในการส่งสัญญาณอนาล็อกระยะทางไกลๆจึงต้องอาศัยเครื่องขยายสัญญาณ หรือ Amplifier เพื่อเพิ่ม พลังงานให้กับสัญญาณ การใช้เครื่องขยายสัญญาณจะมีการสร้างสัญญาณรบกวน (Noise) รวมเข้ากับสัญญาณข้อมูลด้วย จึงต้องมีวงจร กรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออก เมื่อนำสัญญาณข้อมูลมาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลง สัญญาณ ก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ ตัวอย่าง การส่งข้อมูลผ่าน ระบบโทรศัพท์





การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital)
          สัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่องการส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ประกอบขึ้นด้วยระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุดการส่งสัญญาณข้อมูลที่มีแต่ON/OFF หรือเป็นแบบเลขไบนารี(Binary Digit) เมื่อระยะทางการส่งเพิ่มมากขึ้นจะทำให้สัญญาณดิจิตอลจางหายได้จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ หรือ รีพีตเตอร์(Repeater) เพื่อกู้(recover)
สัญญาณให้อยู่ในลักษณะที่เป็น 0 และ 1 เสียก่อนแล้วจึงส่งสัญญาณต่อไปยังปลายทาง

ทิศทางการสื่อสารข้อมูล
         ทิศทางการสื่อสารข้อมูล แบ่งเป็น 3 แบบ คือ
                 1. แบบทิศทางเดียว (Simplex หรือ One-way)
                 2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex)
                 3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-way)
รูปแบบการสื่อสารข้อมูล
       รูปแบบการสื่อสารโดยผ่านสายเคเบิลทำได้ 2 ประเภทคือ
                1. การส่งแบบขนาน (Parallel)
                2. การส่งแบบอนุกรม (Serial)







1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สวยและยังเก่งอีก นะครับขอบคุณมากสำหรับ ความรู้

แสดงความคิดเห็น