วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

รูปแบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล

รูปแบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล
Computer Network


เครือขายคอมพิวเตอร์หมายถึง การนา คอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป มา ต่อเชื่อมกันด้วย อุปกรณ์สอสารขอมล, สอนา สัญญาณซึ่งมีทั้งแบบใช้สายเคเบิลและไม่ต้อง ใช้สายเคเบิล ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกันไดและสามารถใช้ทรัพยากรใน เครือข่ายรวมกันได้
รูปแบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล
Network Topology (โทโปโลยี) หรือ สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย(Network Architecture) คือ ลักษณะทาง กายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่ายซึ่งหมายถึง การจัดรูปแบบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ภายในระบบเครือข่ายลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันโดยจะระบุถึงวิธีโยงสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ ต่างๆในระบบเครือข่าย

รูปแบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล


Bus Topology



              บัส เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คือ อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ วิธีนี้เรียกว่า ( CSMA/CD ) ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้
             เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป

                                                                           Bus Topology



                      CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access/Collision Detection) เป็นวิธีที่ทุก node ของเครือข่ายสามารถเห็นข้อมูลที่ไหลอยู่ในสายสื่อสารของเครือข่าย แต่จะมีแต่โหนดปลายทางที่ระบุไว้เท่านั้นที่จะทำการคัดลอกข้อมูลขึ้นไป ในการส่งข้อมูลด้วยวิธีนี้ ทุกโหนดที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการตรวจสอบสายสื่อสารว่าว่างหรือไม่ หากสายไม่ว่างโหนดก็ต้องหยุดรอและทำการสุ่มตรวจเข้าไปใหม่เรื่อยๆ จนเมื่อสัญญาณตอบกลับว่าว่างแล้ว จึงสามารถส่งข้อมูลเข้าไปได้ แต่อย่างไรก็ดี
อาจมีกรณีที่สองโหนดส่งสัญญาณเข้าไปพร้อมๆ กัน ทำให้เกิดการชนกัน (collision) ขึ้น หากเกิดกรณีนี้ทั้งสองฝ่ายจะต้องหยุดส่งข้อมูล และรออยู่ระยะหนึ่ง (ตามตัวเลขที่สุ่มได้จากสูตร) ซึ่งโหนดที่สุ่มได้ระยะเวลาที่น้อยที่สุดก็จะทำการส่งก่อน หากชนก็หยุดใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะส่งได้สำเร็จ วิธีการใช้สื่อกลางชนิดนี้จะพบมากในโครงสร้างแบบบัส


Star Topology



Star Topology
                เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง โดยมีฮับ (HUB)เป็นจุดผ่านการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
แต่ละตัว การรับส่งข้อมูลจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแบบ Point-to-Point ไม่มีการใช้สายข้อมูลร่วมกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายเรื่องสายเชื่อมต่อมีราคาสูง เป็นเครือข่ายที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพและสามารถควบคุมการประมวลผลได้อย่างใกล้ชิด ดังนั้น ถ้าสายส่งข้อมูลหรือการ์ดเชื่อมโยงเครือข่าย (NIC : Network Interface Card)ของเครื่องคอมพิวเตอร์ใดเสียหาย ก็จะมีผลเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเท่านั้น ไม่มีผลต่อจุดอื่น ๆ

Ring Topology


Ring Topology
                 เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเป็นรูปวงแหวน โดยที่ทุกเครื่องสามารถติดต่อกันได้ นั่นคือ เมื่อมีการส่งข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง ข้อมูลจะวนไปรอบ ๆ วงแหวนในทิศทางเดียว โดยผ่านไปทีละจุด โดยแต่ละจุดจะตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมานั้นเป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าใช่จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดไว้ แต่ถ้าไม่ใช่จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังจุดต่อไป การส่งข้อมูลจะใช้ โทเคน (Token)เปรียบเสมือนรถบรรทุกของที่วิ่งไปตามวงกลมนี้ในทิศทางเดียว

Mixed Topology

Mixed Topology



Mixed Topology



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น