วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติของ internet ในประเทศไทย

ประวัติของ internet ในประเทศไทย

       

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อ.....
                  ปี 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (Melbourne ) ประเทศออสเตรเลีย ถาวร ได้ทำการใช้ e-mail เป็นครั้งแรก แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการ ในช่วงเวลาเดียวกัน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียAIT (Asian Insitute of Technology) ได้ทดสอบ UUCP โดยเชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (Melbourne) และ มหาวิยาลัยในโตเกียว โดยผ่านเครือข่าย X.25 ที่ให้บริการโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย internet ในช่วงแรกส่วนมากจะใช้วิธี dial ไปที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ      
                  ปี 2531 Thai Computer Science Network (TCSNet) ถือกำเนิดขึ้นด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาล ออสเตรเลีย ในโครงการ Australian International Development Plan (IDP) มหาวิทยาลัย 3 สถาบันในไทยเข้าในโครงการ TCSNet ด้วยได้แก่ PSU, AIT, CU (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
                   ปี 2534 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) ได้ติดตั้งโปรแกรม MHSNet โดยใช้ modem ความเร็ว 14.4 Kbps โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Australian Academic and Research Network (AARN) และเป็นทางผ่านใหม่สำหรับการติดต่อระหว่างสถาบันการศึกษาและวิจัยในประเทศไทยกับมหาวิทยาลัย Melbourne การใช้ E-mail ผ่าน MHSNet และ UUCP เริ่มเข้ามามีส่วนสำคัญสำหรับสถาบันการศึกษาในสมัยนั้น
                  ปี 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  หรือ The National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร”Thai Social/Scientific, Academic and Research Network (ThaiSarn) โดยการรวมกันระหว่าง TCSNet และ Inter-University Network ในปีนั้นเอง เครือข่าย internet ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว MHSNet และ UUCP โดยใช้ dial-up หรือเครือข่าย X.25 ก็ถูกแทนโดย Internet Protocol (คือใช้ได้ทุก feature ของ Internet จากเดิมที่ใช้แค่ E-mail อย่างเดียว) โดยผ่านวงจรเช่า (leased lines) เริ่มด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อมต่อกับ UUNET ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps หลังจากนั้นไม่นาน NECTEC ก็เชื่อมต่อกับ UUNET ความเร็ว 64 Kbps เครือข่ายของ ThaiSarn ในขณะนั้นไม่ได้มีเพียงสถาบันการศึกษาเท่านั้นแต่มีองค์กรของรัฐร่วมอยู่ด้วย
                   ปี 2537 หลายโรงเรียนได้เริ่มทดสอบการใช้งาน internet
                   ปี 2538 การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม  โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย(CAT)  องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(TOT)  และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย โดยการให้ลิขสิทธิ์ (licensed) ให้แก่ Internet Thailand ให้เป็น Internet Service Provider (ISP) รายแรก โดย Internet Thailand ได้เชื่อมต่อกับ UUNET ด้วยความเร็ว 512 Kbps ในช่วงเวลาเดียวกัน KSC Comnet ก็ได้รับลิขสิทธิ์เช่นกัน หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก็มีอีก 3 บริษัทได้รับลิขสิทธิ์ ตั้งแต่นั้นมา Internet ในประเทศไทยก็เริ่มโตอย่างรวดเร็ว
                  ปี 2539 หลังจากเกิด ISP ขึ้นมากมายและแต่ละรายก็มี link เชื่อมไปต่างประเทศเป็นของตนเอง เดือนมิถุนายน CAT จึงเริ่มให้บริการ the International Internet Gateway (IIG) เพื่อให้บริการเชื่อมต่อ Internet สำหรับ ISP ที่ไม่สามารถมี link เชื่อมต่อไปต่างประเทศโดยตรง ISP เล็กหลายแห่งได้ใช้บริการของ IIG เพื่อลดต้นทุน แต่ ISP ส่วนใหญ่ยังคงมี link ของตนเองเพื่อความเสถียร (reliability) และใช้ในการแข่งขัน นอกจากนั้น CAT ยังให้บริการ local internet exchange ในชื่อ Thailand National Internet Exchange (TH-NIX) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
                   ปี 2540 ในเดือนพฤศจิกายน NECTEC เปิดให้บริการ local internet exchange ขึ้นในชื่อ The ThaiSarn Public Internet Exchange (PIE) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ต่างๆเข้ากับ ThaiSarn Public access Network นอกจากนั้นคือเพิ่มทางเลือกให้แก่ ISP เนื่องจาก TH-NIX มีระเบียบข้อบังคับมาก

                    ปี 2541 ในเดือนพฤษภาคม TH-NIX และ PIE ได้เชื่อมต่อกันด้วยความเร็ว 2 Mbps 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น